[ มือใหม่หัดต่อกันดั้ม ] อุปกรณ์สำหรับมือใหม่หัดต่อกันดั้มม !!!
สวัสดีคร้าบ.....ผม ZIMBA จากบล็อกที่แล้วผมได้มาพูดถึงว่า "กันพลา" คืออะไรไปกันแล้วนะครับ สำหรับวันนี้ผมก็จะมาพูดถึงเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกันดั้ม หรือกันพลาเบื้องต้นสำหรับมือใหม่กันนะครับผมมม
ก็ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า สำหรับชิ้นแรกนั้นแน่นอนก็คือ กั้นพลา นั่นเองถ้าหากว่าเราไม่มีสิ่งนี้แน่นอนว่าเราก็ไม่สามารถประกอบกันดั้มของเราขึ้นมาได้อย่างแน่นอน 555+ (อันนี้ล้อเล่นนะครับ)
1. คีมตัดพลาสติก หรือชื่อที่ใครหลายๆคนอาจจะรู้จักในชื่อ "คีมเทพ" นั่นเองครับผม สำหรับเจ้าตัวนี้มีไว้เพื่อใช้ในการตัด และเล็ม(ต้องคมนะครับ) ตัวชิ้นส่วนเจ้ากันพลาน้อยของเราออกจากแผงนั่นเองสำหรับคนที่รู้ตัวเองว่าจะเป็นคอร์สะสมกันพลาต้องไม่พลาดที่จะมีไว้ในครอบครอง เพราะมันสามารถช่วยให้กันพลาของคุณออกมาสวยงามแน่นอน สำหรับยี่ห้อที่ผมแนะนำก็จะมี
1. Plato ค่าตัวอยู่ที่ 100-150 บาท (เหมาะสำหรับมือใหม่งบน้อย ความคมพอประมาณ)
2. King TTC ค่าตัวอยู่ที่ 300-350 บาท (เหมาะสำหรับมือใหม่ราคากำลังดี ความคมถือว่าดี หัวเล็กไม่มีซับแรกกระแทก แนะนำมาก )
3. Tamiya ค่าตัวอยู่ที่ 400-1000 บาท (เหมาะสำหรับมือใหม่จนถึงมือโปร แต่แนะนำตัวเทพไปเลยจะคุ้มกว่าเพราะมีซับแรงความคมดีเยี่ยม ทนทานดี เป็นอีกตัวที่น่าใช้สำหรับคนเริ่มช่ำแล้วนะจ้ะ)
4. God Hand ค่าตัว 600-2000ขึ้นไป (เหมาะสำหรับมือโปรหรือใครที่มีงบถึง ความคมเยี่ยมยอดใบมีดบางทำให้ดูแลยากต้องถนุถนอม คุณภาพสมค่าตัว)
ปล.ถ้าไม่มีงบก็ไม่ต้องน้อยใจไป กรรไกรตัดเล็บบ้านๆก็ไม่น้อยหน้าครับใช้ได้ดีทีเลยเดียว
2. อาร์ตไนฟ์ สำหรับเจ้าตัวนี้มีไว้สำหรับเก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือเกินมา มีความจำเป็นมากสำหรับคนจิตละเอียดสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนทั่วไปครับผมมีหลายแบบให้เลือกแต่ยี่ห้อที่ผมอยากจะแนะนำคงไม่พ้นสายเหลือง OLFA ครับแพงกว่าอันอื่นหน่อยแต่ดีแน่นอนส่วนสำหรับใครที่ชอบสีดำก็ให้หันไปมองเจ้า Tamiya เหมือนในรูปครับผมถามว่าแตกต่างกันไหม ขอตอบเลยครับว่าไม่ เพราะมันก็อันเดียวกันกับ OLFA แค่เอามาเปลี่ยนสี และชื่อยี่ห้อครับผม 555+ และก็มียี่ห้ออื่นๆอีกมากมายแล้วแต่เพื่อนๆจะชอบกัน แต่ที่ผมจะมาพูดถึงก็คือใบมีดครับ
ใบมีดที่ผมแนะนำอยากให้เป็นแบบซ้ายจากรูปนะครับ เพราะให้ความคมที่ดีกว่าอีกอย่างมันขนานกับชิ้นงานทำให้ง่ายต่อการเก็บรายละเอียด และมีความทนทานดีเยี่ยมใช้ได้หลายตัวเลยครับจากการทดลองกับตัวเองเลย (ส่วนอันขวาผมใช้กับกันพลาน้อยหนึ่งตัวก็หมดไปเป็นแผงเลยครับแถมเข้านิ้วอีกด้วย เพราะยาวเกิน 555+)
ปล.ในรูปอันซ้ายมือเป็นของยี่ห้อ OLFA นะครับ (แหมอวยเว่อร์วัง 555+)
3. Panel line หรือปากกาตัดเส้น สำหรับเจ้าตัวนี้ขาดไม่ได้เลยถ้าไม่อยากให้กันพลาน้อยของเพื่อนๆต้องโล่งเตียนดูเรียบเนียนไม่มีโวลุ่ม เจ้าปากกาตัดเส้นกันพลานี้สามารถช่วยเพื่อนๆให้กันพลาน้อยมีรายละเอียดที่สวยงดงามได้แน่นอน และเจ้าปากกาตัดเส้นนี้นั้นมีหลายแบบนะครับที่ผมจะพูดจะมีอยู่ 3 แบบ
1. Inamel Panel Line เจ้าตัวนี้จะเป็นขวดหมึกเลยครับ ในขวดจะมีผู้กันมาให้วิธีใช้ก็เขย่าแล้วก็เอามาจิ้มใส่ร่องของกันพลาได้เลย มันจะไหลไปตามร่องเองง่ายใช่มะ (ส่วนวิธีทำความสะอาดก็ใช้คัตเตอร์บัตจุ่ม Thinner X-20 ของ Tamiya พอหมาด แล้วเช็ดออกตอนแห้งเท่านั้นเอง)
2. Gundam Marker (แบบปากกาตัดเส้น) เจ้าตัวนี้จะเป็นแบบหัวปากกา(เหมือนพวก Sakura) อันนี้จะให้รายละเอียดที่เข้มเหมือนเวลาตัดเส้นการ์ตูนในกระดาษนั่นแหละใครชอบแบบนี้ก็ต้องมือนิ่งกันหน่อยนะ
3. Gundam Marker (แบบปากกาจิ้มไหล) เจ้าตัวนี้ก็เหมือนเจ้า Panel line นั่นแหละแค่ทำออกมาเป็นปากกาสำหรับคนอยากจะพกพาไปต่อเจ้ากันพลาด้านนอกสะดวกดีมากๆ
4. Thinner หรือยางลบ เจ้านี่ก็ไม่มีอะไรมากเอาไว้สำหรับลบหรือทำความเจ้าหมึก หรือปากกาตัเส้นทีเลอะนั่นเองไม่ใช่เอาทินเนอร์ตามร้านช่างทั่วไปมาใช้นะครับไม่งั้นมีหนาวสำหรับยี่ห้อแนะนำคงไม่พ้น Tamiya Thinner X-20 ครับผมม (ข้อควรระวัง Thinner นี้ทำมาสำหรับใช้กับพลาสติกก็จริงแต่หากโดนเยอะๆเข้าก็มีเหวอได้นะครับ)
5. Gundam Marker (สี) สำหรับอันนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ถ้าหากใครเป็นคนจิตละเอียดชอบตกแต่งรายละเอียดยิบย่อยเอง ผมก็ขอแนะนำเจ้า Gundam Marker นี้เลย เพราะอย่างกันพลาใน High Grade จะมีการแยกสีมาน้อยมากในบางส่วนเล็กๆ ถ้าใครชอบสมจริงเหมือนการ์ตูนเป๊ะๆก็เอาเจ้านี่มาป้ายใส่ได้เลยทิ้งไว้สักพักมันก็แห้งแล้ว เพราะมันเป็นสีสูตรทินเนอร์ Gundam Marker มีให้เลือกหลายสีแต่ถ้าจะซื้อขอแนะนำให้ซื้อเป็นแพ็คไปเลยมันถูกกว่าค่าตัวอยู่ที่ราว 500-700 ตามร้านค้าครับ
6. สีเคลือบ สำหรับเจ้าตัวนี้ต้องมีแน่นอน เพราะมันคือขั้นตอนสุดท้ายของการเก็บงานให้เจ้ากันพลาน้อยของเพื่อนๆให้ออกมาสวยสด และทนทานต่อสภาพแวดล้อมสำหรับเจ้าสีเคลือบนี้ก็มีหลายแบบทั้งแบบเงา แบบด้าน หรือแม้แต่กึ่งเงากึ่งด้านก็มีนะเออ และสำหรับยี่ห้อที่แนะนำก็ต้องไม่พ้น Mr.Hobby นะครับ เพราะมันเป็นสีเคลือบสูตรน้ำไม่ทำลายเนื้อพลาสติก แต่ข้อเสียคือแพงแทบล้มจับเข่า แต่ไม่ต้องกลัวสำหรับคนงบน้อยก็ยังมียี่ห้อที่แนะนำนั่นก็คือเจ้า Leyland (เหมือนในรูป) อันนี้จะราคาถูกกว่าหลายเท่าเลยหล่ะครับแต่แน่นอนว่ามันก็ต้องมีความเสี่ยงเพราะมันเป็นสูตรทินเนอร์ เวลาพ่นก็อาจจะทำให้พวกสีที่เราตัดเส้นไว้ไหลเยิ้มได้เลยทีเดียวต้องระวัง
7. คัตเตอร์บัต และคีมหนีบ เจ้านี่ก็ไม่มีอะไรมากเอาไว้เช็ดทำความสะอาด และหนีบชิ้นงานเวลาเราจะทำสี หรือพ้นสีเคลือบนั่นเอง
คัตเตอร์บัตในรูปสามารถหาซื้อได้ที่ร้านวัตสันตามห้างทั่วไปมีเยอะแยะ ส่วนตัวหนีบก็หาได้จากร้านอุปกรณ์อะไหล่ทั่วไปติดกับไม้เสียบลูกชิ้นเป็นอันเสร็จ
เอาหล่ะครับก็หมดไปแล้วกับอุปกรณ์ต่อกันพลาน้อยของผมหวังว่าบล็อกนี้จะช่วยผู้ที่สนใจริเริ่มต่อกันพลาได้ไม่มากก็น้อย และท้ายที่สุดนี้อุปกรณ์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น สำคัญที่สุดคือเราสนุกกับการต่อเจ้ากันพลาของเรานั่นเอง สำหรับวันบล็อกนี้ผมก็ต้องขอลาไปก่อนไว้เจอกันใหม่พารท์หน้าสวัสดีคร้าบบบ >3<
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น